Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ บล็อกของ Chaiwat Yaipet
ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2046 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 479 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

กระดานถามตอบ


หัวข้อ (อ่าน/ตอบ)
โดย
วันที่
00004 : แนะแนวฟรี เทคนิคเรียนเก่งและสอบติวโควตา มข. (102/0)
BELL THEACT
1 ก.ย. 2558 : 00:18
00003 : จากผู้พัฒนาเว็บไซต์ รูปภาพ (187/0)
admin
23 ก.ค. 2558 : 16:11



วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แคว้นสุพรรณภูมิ

แคว้นสุพรรณภูมิ 

            อาคม พัฒิยะและนิธิ เอียวศรีวงศ์เชื่อว่า “เสียน” ในหลักฐานของวังต้ายวนเรื่อง “บันทึกย่อเผ่าชาวเกาะ” หมายถึง “แคว้นสุพรรณภูมิ “ บันทึกของวังต้ายวนระบุว่า “ครั้นเมื่อเดือนที่๕ ของฤดูร้อนแห่งรัชกาลจื้อเจิ้ง ปีฉลู(พ.ศ.๑๘๙๒) เสียนยอมจำนนต่อหลอหู(ละโว้)” ข้อความนี้สอดคล้องกับหลักฐานประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หมิงที่ระบุว่า “เนื่องจากหลอหูมีแสนยานุภาพสูง จึงได้ผนวกเอาดินแดนของเสียน และเรียกชื่อว่า เสียนหลอหู”

            เมื่อ Paul Pelliot แปลบันทึกของโจวต้ากวนซึ่งเดินทางร่วมกับคณะราชทูตจีนไปยังกัมพูชาในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๘ เขาระบุว่า ครั้นหลอหูยึดครอง “เสียน” ในปีเดียวกัน จีนจึงเรียกรัฐใหม่นี้ว่า“เสียนหลอ” ในเวลาต่อมา

            พิเศษ เจียจันทร์พงษ์อธิบายว่า แคว้นสุพรรณภูมิตั้งอยู่ในเขตตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และมีอาณาเขตกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำน้อยซึ่งเดิมเคยเป็นดินแดนของแคว้นนครชัยศรี โดยได้ย้ายศูนย์กลางเดิมจากเมืองนครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณไปตั้งอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรีในปัจจุบัน[46] เนื่องจากลำน้ำบางแก้วซึ่งไหลผ่านเมืองนครชัยศรีเปลี่ยนเส้นทางเดิน ทำให้เรือใหญ่ไม่สามาถเข้าถึงได้โดยสะดวก ขณะที่เมืองสุพรรณภูมินั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำใหญ่คือ แม่น้ำสุพรรณบุรี สามารถติดต่อค้าขายทางทะเลและเมืองต่างๆในภูมิเดียวกันได้สะดวก ชื่อเมืองสุพรรณภูมิปรากฏอยู่ในหลักฐานต่างๆ อาทิ ศิลาจารึกหลักที่๑ ของสุโขทัย(กลางพุทธศตวรรษที่๑๙)และจารึกซึ่งพบที่เมืองชัยนาท(พุทธศตวรรษที่๒๑) แสดงให้เห็นถึงความสืบเนื่องทางวัฒนธรรม

            ในสมัยอยุธยา พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยายืนยันให้เห็นถึงความสำคัญว่า แคว้นสุพรรณภูมิมีพระมหากษัตริย์ปกครองควบคู่กันมากับกรุงศรีอยุธยา เมืองสำคัญของแคว้นสุพรรณภูมิ ได้แก่ เมืองแพรกศรีราชาริมแม่น้ำน้อย(ในเขตจังหวัดชัยนาท) เมืองราชบุรี เมืองสิงห์บุรี และมีเมืองเพชรบุรีเป็นเมืองท่าคุมเส้นทางการค้าทางใต้ จดหมายเหตุจีนระบุว่าในปี พ.ศ.๑๗๗๗ มีทูตเสียนเดินทางจากเพชรบุรีไปยังจีน หลักฐานที่ยืนยันการติดต่อระหว่างจีนกับเพชรบุรีคือ การค้นพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ้องจำนวนมากในสถูปเจดีย์ที่เมืองเพชรบุรี

            แคว้นสุพรรณภูมิอาจมีความสัมพันธ์กับ แคว้นสุโขทัยและนครศรีธรรมราชในฐานะที่เป็น “สมาพันธรัฐ” ซึ่งถูกเรียกรวมกันในจดหมายเหตุจีนประมาณพุทธศตวรรษที่๑๙ ว่า “เสียน” เครือข่ายของบ้านเมืองในเขตแคว้นอโยธยาครอบคลุมขึ้นไปทางเหนือของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเลย ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์

            การปกครองของแคว้นสุพรรณภูมิน่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับแคว้นอโยธยา คือประกอบด้วยเมืองหลวง เมืองลูกหลวงและเมืองที่มีความสำคัญรองลงไป พระนามเฉพาะของพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นสุพรรณภูมิ คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช ส่วนผู้ปกครองเมืองลูกหลวงก็จะทรงมีพระนามว่า “พระอินทราชา”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น